หลายๆครอบครัว อาจจะเคยมีเรื่องปวดหัว เกี่ยวกับ การจัดสรรเงินในครอบครัว หรือ บริหารสภาพคล่อง กันบ้าง
ความรู้สึกที่่ พะวงหน้าพะวงหลัง
กลัว จ่ายตรงนี้ แล้ว เดี๋ยวจะไม่พอตรงนู้น
ใช้ตรงนี้เพลินไปหน่อย พอสิ้นเดือน… ไม่ไหวแล้ว เมื่อไหร่เงินเดือนจะออก
ก็คิดว่า ไม่ได้ใช้อะไรเยอะ แต่ไม่รู้ว่า เงินหายไปไหน หมดไปกับอะไร
ความรู้สึกแบบนี้ แม่นิกก็เคยมีนะคะ
แต่เมื่อได้ค้นพบ วิธีบริหารเงิน ที่ฟังมาจากหลายๆที่ และ ได้ลองปรับใช้กับแนวทางการใช้ชีวิตของตัวเอง แล้วรู้สึกว่า วิธีนี้ ดีมากๆเลย เวิร์คจนอยากบอกต่อจริงๆ
ปกติแม่นิกเป็นคนชอบเปลี่ยนอะไรบ่อยๆ ไม่ค่อยจะทำอะไรได้นานๆ สักเท่าไหร่
แต่กับระบบบริหารเงินด้วยวิธีนี้ แม่นิกใช้มานาน ต่อเนื่องมากกว่า 5 ปีแล้วค่ะ
คิดว่าลงตัวพอสมควร กับสถานการณ์ตอนนี้ ที่ใช้ชีวิตคู่ และมีลูกด้วย
เดี๋ยวจะเล่าระบบให้ฟัง แล้วลองปรับใช้ดูกันนะคะ
1. หา Fixed Expense ก่อน หรือค่าใช้จ่ายคงที่ก่อน
คืออันดับแรก เราต้องรู้ก่อนว่า เรามีค่าใช้จ่ายประจำปีที่คงที่ อะไรบ้าง
รวบรวมมาให้หมดเลยค่ะ ค่าใช้จ่ายที่ รู้ จำนวนเงินที่แน่นอนในแต่ละปี และช่วงเวลาที่คาดว่าจะต้องจ่ายเงินก้อนนั้น
เช่น
– ภาษี (Tax) :
แม่นิกจะเอารายได้ที่ได้ปีล่าสุด มาคำนวณ ก่อนขึ้นปีใหม่ทุกปีเลยว่า ปีหน้า แม่นิกต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่ แล้วก็ หารออกมาเป็นรายเดือน ว่า พอเงินเดือนออก ต้องเก็บไว้ เพื่อจ่ายภาษีเท่าไหร่ แยกเก็บไว้ในบัญชี ตั้งชื่อว่า ภาษี
– ค่าส่วนกลาง บ้าน และคอนโด :
list มาให้หมด ว่าแต่ละทรัพย์สินแต่ละที่ที่เรามี ต้องจ่ายค่าภาษีเท่าไหร่ อันนี้ เรียกว่า ภาษีสังคม รวมยอดมาทั้งปีแล้วหาร 12 แม่นิกก็รวมเข้าไปในบัญชีที่ชื่อว่า ภาษี เหมือนกัน
– ประกัน (Insurance) :
รวบรวมกรมธรรม์ทั้งหมดที่ต้องชำระในแต่ละปี ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต ประกันสะสมทรัพย์ ประกันบำนาญ รวมถึงประกันสุขภาพที่เพิ่มขึ้นทุกปี ประมาณการค่าเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายในแต่ละปี แล้วนำมารวมกัน หารด้วย 12 แล้วแยกเก็บไว้ในบัญชีเฉพาะชื่อว่า “ประกัน”
– ค่าเล่าเรียน (Tuition) :
สำหรับผู้ที่ยังศึกษาอยู่หรือมีบุตรหลาน ให้ประมาณการค่าเทอมและช่วงเวลาการจ่ายล่วงหน้า แล้วแยกเก็บไว้ในบัญชีชื่อ “การศึกษา” หรือ “การศึกษาของบุตร”
– หนี้สิน (Mortgage/ Debt) :
รวบรวมรายการหนี้สินทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหนี้บ้านหรือหนี้รถ โดยคำนวณยอดขั้นต่ำที่ต้องชำระในแต่ละเดือน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้สามารถชำระหนี้ได้เร็วขึ้น แนะนำให้เผื่อเงินส่วนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ที่มีดอกเบี้ยมากกว่าขั้นต่ำเสมอ จัดรายการหนี้สินเหล่านั้นเป็นยอดคงที่ในแต่ละเดือน การเผื่อเพิ่มขึ้นกว่าขั้นต่ำอีกเล็กน้อยจะช่วยให้ผ่อนหนี้สินหมดเร็วขึ้น และทำให้เงินไม่หมดไปกับสิ่งที่มีความสำคัญน้อยกว่า เพราะทุกคนต่างก็อยากหมดหนี้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
2. หาค่าใช้จ่ายผันแปร (Variable expense)
ค่าใช้จ่ายผันแปร คือ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้
ซึ่งการที่เราจะรู้ข้อมูลเหล่านี้ได้ เราต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เราถึงจะประมาณการณ์ได้ว่า แต่ละเดือน เรามีงบ ตรงนี้เท่าไหร่
หลังจากที่ได้ทดลองปรับเปลี่ยนหมวดหมู่ต่างๆ มาแล้ว พบว่าวิธีที่ง่ายที่สุดในการบันทึกข้อมูลค่าใช้จ่ายคือการแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ย่อยๆ ดังนี้
ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินชีวิตที่จำเป็นประจำวัน (Daily)
เป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อบันทึกรายรับรายจ่าย ให้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทย่อยๆ ดังนี้
- อาหาร (Food): รวมค่าอาหารที่รับประทานในแต่ละวันและเครื่องดื่มที่ซื้อเป็นประจำ
- ของใช้ (Items): อาจเป็นของใช้หรือเครื่องเขียน สิ่งของเล็กๆ น้อยๆ ที่ซื้อใช้เองในชีวิตประจำวัน
- ค่าเดินทาง(Transportation): อาจเป็นค่าน้ำมันหรือค่าโดยสารรถในแต่ละวัน
การใช้จ่ายเป็นครั้งคราว เพื่อเติมเต็มความสุขในชีวิต (Play) หรือการออมระยะยาว (Long-term savings; LTS)
เป็นค่าใช้จ่ายที่เราจ่ายเป็นครั้งคราว อาจเพื่อสร้างความสุขในชีวิตเล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้ต้องซื้อเป็นประจำ แต่อาจจะเป็นบางช่วง จำนวนเงินในแต่ละเดือนจึงอาจจะขึ้นๆ ลงๆ บ้าง ไม่แน่นอน โดยอาจจะแบ่งแยกย่อยออกได้ดังนี้
- ส่วนตัว(Personal): เป็นของที่เราซื้อเพื่อตัวเราเอง อาจจะเช่น เสื้อผ้า เครื่องสำอาง รองเท้า ฯลฯ
- การศึกษา(Education) : เป็นรายการที่เราซื้อหรือลงทุนเพื่อการศึกษา หรือลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพในตัวเราเอง เช่น หนังสือ คอร์สเรียนบางอย่างที่เราสนใจ
- สุขภาพและความฟิต(Health&Fitness) : เป็นรายการที่เราใช้เพื่อซื้อสุขภาพที่ดีของเรา เช่น ค่าฟิตเนส นวด หรือค่าใช้จ่ายส่วนเกินของค่ารักษาพยาบาลจากสวัสดิการที่มี
- ของขวัญ (Gift): เป็นค่าใช้จ่ายที่เรามอบความสุขให้คนรอบข้าง อาจจะเป็นเงินบริจาคเพื่อสังคมหรือมูลนิธิ เงินทำบุญ หรือของขวัญที่เราตั้งใจซื้อให้คนสำคัญหรือคนใกล้ชิด เป็นต้น
สำหรับกรณีที่บ้านไหน รวมเงินเป็นกองกลางเอาไว้ ขอให้คิดเปรียบเสมือนว่า เงินกองกลางของบ้าน เป็นบุคคลอีกคนหนึ่ง ที่เราเรียกว่า Home
ค่าใช้จ่ายของบ้าน จะเป็นค่าใช้จ่ายที่เราใช้ร่วมกันทั้งครอบครัว ซึ่งถ้าแบ่งใหญ่ๆ ก็คล้ายๆ บุคคลคนหนึ่งเหมือนกัน คือ มีทั้ง Daily และ Play แต่อาจจะ จำเพาะเจาะจงกับค่าใช้จ่ายในบ้านมากกว่า เช่น
Daily ของบ้าน จะแบ่งเป็น
- Grocery : คือ ค่าใช้จ่ายที่เราซื้อของกินของใช้ต่างๆ เข้าบ้าน
- Utility : ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอินเตอร์เน็ต หรือ แก๊สหุงต้มต่างๆ
- Eating out : ค่าใช้จ่ายที่เราไปทานอาหารนอกบ้าน เมื่อก่อนแม่นิกรวมไว้กับ Grocery แต่ตอนหลัง ยอดนี้ เริ่มบานปลาย จึงแยกออกมาเพื่อจะได้มองเห็นได้ง่าย ว่าเดือนไหน เราไปทานอาหารนอกบ้าน เยอะเกินไปหรือไม่
- Fee/Service: ค่าใช้จ่ายที่เราจ้างคนมาบริการ หรือทำงานบางอย่างในบ้านให้เรา เช่น ค่าแม่บ้านทำความสะอาด ค่าทำสวน ค่าพี่เลี้ยงเด็ก
- Furniture : ค่าใช้จ่ายที่เราซื้อของชิ้นใหญ่ๆ หรือ Furniture ชิ้นใหญ่ๆ เข้าบ้าน
- Kid’s Daily : เป็นค่าใช้จ่ายเล็กๆน้อยๆ ที่เกี่ยวกับลูก ที่ค่อนข้างจิปาถะ ไม่ว่าจะ เสื้อผ้า ขนม ของเล่น ค่าเข้าสวนสนุก เป็นต้น
Play หรือ LTS ของบ้าน
ในทำนองเดียวกัน กับของแต่ละคน เป็นค่าใช้จ่ายที่เราต้องการซื้อความสุขให้คนทั้งครอบครัว เพราะฉะนั้นหลักๆเลย แม่นิกจะจัดกองนี้ไว้ให้เป็นกอง Vacation
3. ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน
แม่นิก เรียกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ว่า Maintenance/Emergency เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับกรณีฉุกเฉิน หรือเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจริงๆ เช่น ค่าซ่อมรถ ค่าซ่อมอุปกรณ์ ต่างๆภายในบ้าน ค่ารักษาพยาบาลที่เกินวงเงินจำนวนมาก เป็นต้น กองนี้ เป็นกองที่เราเก็บไว้เพื่อเหตุฉุกเฉินจริงๆ และจะไม่ถอนมาใช้อย่างพร่ำเพร่อด้วยเหตุอื่นๆ ซึ่งกองนี้ อาจจะแยกเป็นของ Personal เดี่ยวๆ ของแต่ละคนก็ได้ หรือ จะรวมเป็น Home MT/Emergency ก็ได้ แล้วแต่ ความถนัดเลยค่ะ
ลองนำวิธีนี้ไปปรับใช้กับการบริหารจัดการงบประมาณภายในบ้านของคุณดูนะคะ
หากเก็บข้อมูลเป็นตาราง Excel ก็จะได้หน้าตา ประมาณนี้ ค่ะ
- สีส้มอ่อน : Daily
- สีส้มเข้ม : Play หรือ Long-term Savings
- สีฟ้า : Fixed Expence
- สีแดง : Emergency Savings
ลองเอาไปปรับใช้กับครอบครัวแต่ละคนกันดูนะคะ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยค่ะ แม่ๆ สามารถแบ่งปันความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเพิ่มเติมได้ ผ่านช่องทางคอมเมนต์ด้านล่างนี้เลยค่ะ ยินดีรับฟังทุกความคิดเห็นเพื่อนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นค่ะ
เพื่อนๆ สามารถติดตาม Momganizer ได้เรื่อยๆ นะคะ เพราะแม่นิก จะคอยมาแชร์ข้อมูล และแบ่งปัน ทริคดีๆ ในเรื่องของการบริหารจัดการ รายรับรายจ่าย และ กระแสเงินสดในบ้าน กันค่ะ